คาว่า “คุณภาพ” (Quality) เป็นคาที่ใครๆก็ต้องการให้เกิดกับสรรพสิ่งในโลก มีความพยายามกันมากมายในสังคมที่อยากจะ พัฒนา ทุกสิ่งทุกอย่างให้ดีขึ้น ทุกคนไม่เถียงแน่ว่า โลกของเราจากอดีตถึงปัจจุบัน(และในอนาคต) มีการเปลี่ยนแปลงไปหลายๆอย่าง ที่เห็นชัดมากๆคือ ด้านปริมาณ ด้านจานวน สิ่งที่เห็น จับต้องได้ นับได้จานวนมหาศาล
สาหรับอีกด้านหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง คือ ด้านคุณภาพ ที่ทุกคนต้องยอมรับตรงกันแน่ๆว่า หมายถึง สิ่งที่ดี มีประโยชน์ ต่อตนเอง ส่วนรวม ทาให้โลกน่าอยู่ ชีวิตน่าอยู่ โลกสวย ฯลฯ แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่เราๆท่านๆได้รับทราบ พบเห็น บางครั้งแยกไม่ออกว่า สิ่งใดเป็นคุณภาพที่ถูกต้องจริงๆ มนุษย์เราก็จะพยายามกาหนดค่า/คุณลักษณะ/ข้อกาหนดขึ้นมาว่า ถ้ามีสิ่งนี้นะ จะมีคุณภาพ ถ้ายังไม่มีสิ่งนี้ ก็ยังไม่มีคุณภาพ การทาอย่างนี้ สิ่งของนี้มีคุณภาพมากกว่าทาอย่างนั้น/กับสิ่งโน้น อะไรทานองนี้
แต่อย่างไรก็ตาม การกาหนดให้ค่า,คุณลักษณะ,ข้อกาหนดที่กาหนดขึ้นมาของแต่ละฝ่าย/กลุ่ม ก็ขึ้นอยู่กับทฤษฎี/หลักการ/นโยบาย/ความเชื่อตามยุคช่วงสมัยของผู้ที่กาหนด บางครั้งก็ใช้ได้แค่ในช่วงหนึ่งๆ(timing)เท่านั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การกาหนดคุณภาพการศึกษา ที่ผ่านมาและปัจจุบันจะพบเห็นได้ว่า ยังมีความเข้าใจไม่ตรงกัน จากหลายๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ทั้งๆที่ในแง่การควบคุมของสังคม ก็ได้กาหนด(ความหมาย)คุณภาพการศึกษาไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯแล้วก็ตาม ผู้เขียนได้เคยนาเสนอบทความเกี่ยวกับ “คุณภาพการศึกษา”มามากพอสมควรแล้วครับ ครั้งนี้ ขอนาเสนอ สิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดของเรา คือ “คุณภาพชีวิต”(The Quality of Life) เพราะผู้เขียนเห็นว่า ที่ผ่านมาเรามักจะไปมอง ไปคิดแต่เรื่องไกลตัว เลยลืมกลับมาพิจารณาตัวเองว่า เราเองนะ ชีวิตมีคุณภาพไหม ? ขนาดไหน ? ก่อนที่จะไปช่วยกันพัฒนาคุณภาพของสังคม !!!
อ่านเพิ่มเติมฉบับเต็ม คลิกที่นี่